วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

25 มณฑารพ

มณฑารพ หรือ มณฑา มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับพุทธประวัตคือ


เมื่อพระมหากัสสปะ ทราบว่าพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร และเสด็จไปดับขันธ์ปรินิพพานที่นครกุสินารา พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร 500 รูป จึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะหยุดพักที่โคนไม้ใกล้เมือง เห็นอาชีวกหนุ่มคนหนึ่งถือดอกมณฑาเดินมาจากทางเมืองกุสินารา พระมหากัสสปะสงสัยมากเนื่องจากดอกมณฑา เป็นดอกไม้ทิพย์ มิได้มีอยู่บนโลกมนุษย์ จะปรากฏเฉพาะตอนที่พระพุทธเจ้าเข้าสู่พระครรภ์มารดา หรือประสูติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อภิสมโพธิ เมื่อตรัสเทศนาพระธรรมจักร เมื่อกระทำยมกปาฏิหาริย์ เมื่อเสด็จจากเทวโลก เมื่อทรงปลงอายุสังขาร จึงจะบันดาลให้ตกลงมาจากเทวโลก หรือพระพุทธเจ้า จักเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้ว


จึงได้ถามอาชีวกหนุ่มนั้นว่า “ดูก่อน ท่านผู้มีอายุ ท่านจะยังทราบข่าวของพระศาสดาบ้างหรือไม่”


อาชีวกตอบว่า “ทราบอยู่ พระสมณะโคดมปรินิพพานได้ 7 วันแล้ว ดอกมณฑารพในมือนี้ เราถือมาแต่ที่นั้น”


บรรดาภิกษุบริวารผู้ใดที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ เมื่อได้ยินต่างพากันคร่ำรำพัน ว่าพระผู้มีพระภาคปรินิพานเร็วจัก พระผู้เป็นจักษุโลกอันตรธานเร็วนัก ผู้ใดที่ปราศจากราคะ มีสติสัมปชัญญะอดกลั้น ก็ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ


ครั้งนั้น บรรพชิตผู้บวชเมื่อแก่ ชื่อสุภัทวุตบรรพชิต ได้บอกกับเหล่าภิกษุว่า “อย่าเลยผู้มีอายุ พวกท่านอย่าได้เศร้าโศกไป อย่าร่ำไรเลย เราพ้นดีแล้ว ด้วยว่าพระมหาสมณะนั้นเบียดเบียนพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ ก็บัดนี้ เราปรารถนาสิ่งใดก็จักทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่กระทำสิ่งนั้น”


ชาวพุทธควรขอบคุณพระสุภัททวุต ดอกมณฑา อาชีวก และพระสงฆ์ที่คร่ำครวญ เพราะล้วนเป็นเหตุให้พระมหากัสสปะเห็นภัยในพระศาสนา จึงชักชวนสงฆ์ทั้งหลายทำสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัยเพื่อความเป็นปึกแผ่น


(ภาพพระพุธองค์ปางปรินิพพานแบบภารหุต สมัยสุงคะ ที่น่าสนใจคือเครื่งประดับสถูป)


ในวันเพ็ญเดือน 10 หลังปรินิพพานแล้ว 4 เดือน อันเป็นช่วงเวลาเข้าพรรษาพอดี จึงเริ่มมีการสังคายนาที่คูหาสัตตบรรณพต กรุงราชคฤห์ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นเอกอัครราชูปถัมภก พระสงฆ์ทั้ง 500 รูปที่ร่วมกันสังคยนาล้วนแต่พระอรหันต์ขีณาสพ การสังคายนาใช้เวลา 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ

.................................................................................


พุทธทาสภิกขุ ภาพพุทธประวัติหินสลัก ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


พนิตา อังจันทรเพ็ญ พระพุทธประวัติ สมุดภาพจิตรกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ 81 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ


นวองคุลี เหตุเกิดหลังพุทธปรินิพพาน ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

24 ตะเคียน

ตะเคียน เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอยู่ 2 ครั้ง


ครั้งหนึ่งคือพวกเดียรถีย์ทำยมกปาฏิหาริย์แข่งกับพระพุทธองค์ จึงตระเตรียมมณฑลอันมีเสาที่ทำด้วยไม้ตะเคียน


อีกครั้งคือ สิริคุตถ์หลอกนิครนห์ผู้เป็นอาจารย์ของครหพินน์ตกลงไปในหลุมอุจจาระ ครหพินน์จึงคิดแก้แค้นพระพุทธองค์ซึ่งเป็นอาจารย์ของศิริคุตถ์บ้าง โดยทำหลุมไฟอันมีไม้ตะเคียนเป็นเชื้อเพลิง แล้วมีกระดานกลปิดไว้ที่ปากหลุม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงหลุมไฟนั้น ก็มีดอกบัวมารองรับพระบาทมิให้ได้รับอันตราย

............................................................


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


23 จันทน์แดง

จันทน์แดง ปรากฏในพุทธประวัติ เพราะ เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทน์แดงมา จึงนำมาทำเป็นบาตร เสร็จแล้วนำไปแขวนไว้บนยอดเสาซึ่งทำจากไม้ไผ่ต่อๆกันไปจนสูงถึง 60 ศอก


เศรษฐีประกาศว่า ถ้าผู้ใดเหาะไปเอาบาตรลงมาได้ จะเชื่อว่าผู้นั้นเป็นพระอรหันต์


พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ได้แสดงปาฏิหาริย์ไปนำเอาบาตรมา ความทราบถึงพระพุทธองค์ จึงทรงตำหนิที่กระทำเช่นนั้น ทรงทำลายบาตรไม้จันทน์แดงจนเป็นจุล แล้วแจกให้พระสงฆ์บดใช้เป็นโอสถสำหรับใส่จักษุ และทรงมีบัญญัติห้ามมิให้สาวกแสดงปาฏิหาริย์สืบไป


ในปาฏิหาริย์ (สิ่งที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์)ทั้ง 3 อันมี อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์) อาเทศนาปาฏิหาริย์ (ทายใจผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์) และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์) พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญแต่ปาฏิหาริย์ในข้อ 3 เท่านั้น เพราะการสอนผู้อื่นให้เข้าใจสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตามจนได้ผลเป็นอัศจรรย์ ผู้ฟังย่อมเกิดปัญญาพึ่งพาตนเองได้ ต่างจากสองปาฏิหาริย์แรกที่เมื่อแสดงแล้ว ผู้ชมหรือผู้ฟังทึ่ง หวังพึ่งแต่ผู้แสดงปาฏิหาริย์จนไม่คิดพึ่งตนเอง ไม่เกิดปัญญาพัฒนาตนให้หลุดพ้นตามมา


.......................................................................................


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง สำนักพิมพ์ระฆังทอง ตู้ป.ณ.119 ปณจ.ราชดำเนิน กรุงเทพ

22 สมอ

สมอ มีชื่อบาลีว่า หรีตก (หะ-รี-ตะ-กะ) ,หรีตกี (หะ-รี-ตะ-กี), หรีตโก(หะ-รี-ตะ-โก) และอภยา (อะ-พะ-ยา)


หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ได้เสวยวิมุตสุขใต้ต้นไม้


พระอินทร์เห็นว่าพระพุทธองค์ควรจะเสวยพระกระยาหารบ้าง


จึงนำผลสมอทิพย์มาถวาย


.......................................................................


อ้างอิงเรื่องและรูป


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


21 ประดู่ลาย

ประดู่ลาย ชาวอินเดียเรียก “ลิสโซ”


เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปเยี่ยมพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนะที่กรุงบิลพัสดุ์ และได้โปรดทั้งพระบิดาและพระญาติแล้ว


เมื่อเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ ได้พาพระอานนท์ พระราหุล กลับด้วย


ได้ประทับยังป่าสีสปาวัน หรือป่าไม้ประดู่ลาย หรือประดู่แขก


.........................................


อ้างอิงเรื่องและรูป


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

20 มะตูม

ครั้งแรกที่เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์หลังจากการตรัสรู้ ทรงประทับ ณ นิโครธาราม


เหล่าพระญาติมารับเสด็จ แต่เห็นว่าทรงมีชันษาน้อยกว่าตน จึงนั่งแอบอยู่ข้างหลัง ส่งพระกุมารมานั่งแถวหน้า เพื่อจะได้ไม่ต้องวันทาพระองค์


พระพุทธองค์จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นสู่อากาศ โปรยละอองพระบาทลงสู่พระญาติ เหล่าพระญาติเห็นดังนั้น จึงได้คลายมานะ


เช้าวันหนึ่ง เสด็จเข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต


ขากลับ ได้เสด็จไปยังป่ามหาวันเพื่อทรงพักผ่อน


ได้ประทับใต้ต้นมะตูมหนุ่ม

............................................................


อ้างอิงเรื่อง และรูป


เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


19 ฝ้าย

ฝ้าย เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติคือ เมื่อพระพุทธองค์ทรงโปรดปัญจวัคคี และทรงมีพระสาวกเพิ่มเป็น 60 รูปแล้ว ทรงส่งพระสาวกทั้งหกสิบไปเผยแพร่พระศาสนา ส่วนพระองค์ เสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม


ระหว่างทาง ทรงหยุดพักใต้ต้นรุกขมูล (ฝ้าย )


ขณะที่ประทับนั่งอยู่ เด็กหนุ่ม 30 คนที่ได้ชื่อว่า “ภัทวัคคีย์” นำภรรยามาพักผ่อนที่ไร่ฝ้าย ในกลุ่มทั้ง 30 นั้น มีคนหนึ่งไม่มีภรรยา จึงนำหญิงคนหนึ่งมาเป็นเพื่อน


ขณะที่ทุกคนไม่ได้สนใจระวังข้าวของ หญิงนั้นถือโอกาสขโมยเครื่องประดับไป ภัทวัคคีย์จึงออกติดตาม จนมาพบพระพุทธองค์ที่โคนต้นฝ้าย จึงถามว่าทรงเห็นหญิงหนึ่งผ่านไปหรือไม่


พระองค์ตรัสถามเหล่าภัทวัคคีย์ว่า จะแสวงหาตนดีกว่า หรือแสวงหาหญิงนั้นดีกว่า


ต่อมาทรงแสดงธรรมจนเหล่าภัทวัคคีย์บรรลุโสดาบัน


อีกเหตุการณ์ของฝ้ายคือ เมื่อเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์เป็นครั้งที่ 2 พระน้านางปชาบดีโคตรมี ได้ถวายผ้าสาฎก 2 ผืน ยาว 14 ศอก กว้าง 7 ศอกเสมอกัน


ปฐมสมโพธิกล่าวว่า “ ฝ้ายนั้นมีสีเหลืองดังทอง โดยพระนางปลูกต้นฝ้ายเอง ฝ้ายออกดอกมาเป็นสีเหลืองหม่น เสร็จแล้วทอเองจนสำเร็จเป็นผืน แล้วใส่ผอบทองไปถวายพระพุทธเจ้า”


หากพระพุทธองค์ไม่ทรงรับ ชี้ให้พระนางนำไปถวายพระสงฆ์ แต่ไม่มีสงฆ์รูปใดยอมรับอีก มีอยุ่รูปเดียวที่เพิ่งบวชใหม่อยู่ท้ายแถว ยอมรับ ท่านมีนามว่า “อชิต” ยังเป็นพระปุถุชน แต่ในอนาคต ปฐมสมโพธิว่าอชิตภิกษุนี้ คือพระศรีอาริย์ ซึ่งจะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป


ที่ไม่ทรงรับ เพราะมีพระประสงค์ยกย่องความดีของพระสงฆ์ให้ประจักษ์ มิฉะนั้นอาจเกิดความคิดว่า ต้องทำบุญกับพระพุทธเจ้า จึงจะได้บุญ อันจะทำให้สงฆ์ลำบากเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว


.................................................



อ้างอิงเรื่อง และรูป


เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ชนะใครไม่เท่าชนะใจตน มูลนิธิมายา โคตรมี 378 อาคารสงเคราะห์ สาย 20 ก. แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120


18 สะเดา

สะเดาอินเดีย


หรือ “นิมะ” ของชาวฮินดู


ในช่วงหนึ่ง พระพุทธองค์เคยจำพรรษาใต้ต้น “ปจิมมันทพฤกษ์” หรือต้นสะเดา อยู่ใกล้นครเวรัญชา


....................................................


อ้างอิงเรื่อง และรูป


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


พนิตา อังจันทรเพ็ญ พระพุทธประวัติ สมุดภาพจิตรกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ 81 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

17 สีเสียด

ชาวฮินดูเรียกสีเสียดว่า “กคร”


เมื่อพระพุทธองค์สำเร็จพระโพธิญาณได้ 8 พรรษา ได้เสด็จไปประทับที่ “ภูสกภวัน” (บางเล่มเรียก “เภสกลาวัน”) คือป่าไม้สีเสียด ใกล้สุงสุมารคีรีในภัคคฏฐี (บางเล่มว่าในแคว้นภัคคะ)


พบนกุลบิดา และนกุลมารดา ทั้งสองเป็นคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี สองสามีภรรยาเมื่อแรกพบพระพุทธองค์ ก็เกิดความสนิทสนม ราวกับว่าพระพุทธองค์เป็นบุตรตน


เมื่อครั้งนกุลบิดาเจ็บป่วย พระพุทธองค์ประทานพระดำรัสว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราไม่ป่วย”

................................................................................


อ้างอิงเรื่องและรูป


พนิตา อังจันทรเพ็ญ พระพุทธประวัติ สมุดภาพจิตรกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ 81 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ธรรมสภา 1 / 4-5 ถ.บรมราชชนนีร เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

16 กุ่มบก

กุ่มบก ชาวฮินดูเรียก “มารินา”


มีชื่อบาลีว่า ปุณฑรีก (ปุน-ดะ-รี-กะ), วรโณ (วะ-ระ-โน),กเรริ (กะ-เร-ริ) และวรณ (วะ-ระ-นะ)


เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าชักผ้าบังสุกุลซึ่งห่อศพนางบุณณทาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) แล้วนำไปซัก


ทรงหาที่ตากผ้า


พฤกษเทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้โน้มกิ่งต้นลงมาให้ต่ำ เพื่อให้เป็นที่ตากจีวร
..................................

อ้างอิงเรื่องและรูป


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

15 มะขามป้อม

มะขามป้อม


มีเหตุเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติคือ เมื่อคราวเสด็จไปเก็บพืชพรรณที่ภูเขาหิมพานต์เพื่อแสดงให้ชฎิลดาบสเห็นเป็นการปราบพยศ นอกจากทรงเก็บมะม่วง หว้า และส้มแล้ว ยังทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย


และเสด็จไปถึงโรงเพลิงก่อนที่ดาบสทั้งหลายจะไปถึง


..................................................


อ้างอิงเรื่องและรูป


เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

14 ส้ม

ส้ม มีเหตุเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติคือ เมื่อคราวเสด็จไปเก็บพืชพรรณที่ภูเขาหิมพานต์เพื่อแสดงให้ชฎิลดาบสเห็นเป็นการปราบพยศ ทรงเก็บมะม่วง หว้า และทรงเก็บส้มมาด้วย


และเสด็จไปถึงโรงเพลิงก่อนที่ดาบสทั้งหลายจะไปถึง

..................................................


อ้างอิงเรื่องและรูป


เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

13 ปาริฉัตร

ปาริฉัตร ฮินดูเรียก “มังการา” ชื่อพื้นเมืองคือ ทองหลาง ปาริชาติ ทองบ้าน


หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ ( กรุณาย้อนอ่านในเอนทรี่ต้นมะม่วงค่ะ)แล้ว ทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเข้าทั้งหลายว่า ได้ไปจำพรรษา ณ ที่ใด ทรงทราบด้วยพุทธญาณว่า ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในปฐมสมโพธิมีการกล่าวถึงการจำพรรษาของพระพุทธองค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า ได้ทรงจำพรรษาที่นั่นในพรรษาที่ 7 เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งมาจุติเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต พระอินทร์ได้ป่าวประกาศให้หมู่เทพมาร่วมฟังธรรม ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศนั้น ดังทั่วไปในสกลเทพยธานีทั้งหมื่นโยชน์


ทรงประทับที่โคนไม้ปาริฉัตร อันเป็นต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงสื อยู่ในสวนนันทวันของพระอินทร์ มีแท่นหินอยู่ใต้ต้น ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียก “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์”


และเมื่อถึงวันออกพรรษา เสด็จลงมาจากสวรรค์ ทวยเทพต่างพากันมาส่งเสด็จ พระอินทร์ได้เนรมิตบันไดอันเป็นทางเสด็จลง 3 บันไดด้วยกันคือ บันไดทองอยู่ทางขวาสำหรับหมู่เทพ บันไดเงินอยู่ทางซ้าย สำหรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธองค์


องค์อินทร์เอง อุ้มบาตรตามมาส่ง ปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตร ถือพิณบรรเลงเพลง มาตุลีเทพบุตร ถือพานดอกไม้ทิพย์ โปรยปรายนำทางเสด็จพระดำเนิน


พระบาทแรกที่ทรงเหยียบลงบนพื้นโลกนั้น ต่อมากลายเป็นสถานที่ระลึก เรียก “อจลเจดีย์” หรือรอยพระพุทธบาท


นักเขียนเรื่องราวในพุทธศาสนารุ่นต่อมาได้ถวายพระนามพระพุทธองค์ว่า “เทวาติเทพ” คือเทพที่ยิ่งใหญ่กว่าเทพทุกชั้น เพราะเทพต่างๆในอินเดียถูกนำมาเป็นลูกศิษย์พระพุทธองค์หมด ( เขียนถึงตอนนี้ เลยนึกถึงคัมภีร์ปุราณะ ที่นำพระพุทธองค์ไปเป็นปางที่ 9 ของพระนารายณ์ ขึ้นมาได้ แสดงถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองศาสนา ที่ยากจะแยกกันออก ) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ก็ถือวันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง มีการตักบาตรเทโว หรือ “เทโวโรหณะ”ในวันนี้


เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงมาถึงโลก ขณะที่ประทับยืนบนบันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตรไปทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมดลกก็เปิดโล่ง ทอดพระเนตรไปยังทิศเบื้องต่ำ นิรยโลกทั้งหลายก็เปิดโล่ง ในครั้งนั้น ทั้งสวรรค์ มนุษย์ สัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล


ถ้าจะถอดความก็คือ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม มีคนมาฟังกันมากที่สุด ผู้คนมองเห็นบาปบุญคุณโทษ เห็นผลบาป ผลบุญ และความมีศีลธรรม อันทำให้คนต่างจากสัตว์เดรัจฉานนั้นเอง


ปาริฉัตรพฤกษชาติจากดาวดึงส์ เป็นพรรณไม้อีกชนิดที่พระองค์นำกลับมายังโลกด้วย (เมื่อคราวทรงไปเก็บพรรณไม้ในสวรรค์เพื่อปราบพยศชฎิลดาบสทรงเก็บปาริฉัตรมาด้วย)

.........................................................................


อ้างอิงเรื่อง และรูป


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร


เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ


เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา เกษมอนันต์พริ้นติ้ง 02-809-7452-4


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ


12 มะม่วง

มะม่วง ฮินดูเรียก “อะมะ” “อะมะริ” มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์อยู่ หลายครั้ง


ครั้งแรก เมื่อพระพุทธองค์ทรงปราบชฎิลดาบส หรือฤาษี พระดาบสการาบทูลนิมนต์ภัตตกิจ พระองค์รับสั่งให้ไปก่อน แล้วทรงเหาะไปเก็บผลมะม่วง ผลหว้า ที่เขาหิมพานต์ (หิมาลัย) แต่กลับเสด็จไปถึงโรงไฟก่อนพระฤาษี


อีกครั้ง เมื่อพระเทวทัตปองร้ายพระองค์ ได้กลิ้งหินก้อนใหญ่ลงมาหมายทับพระพุทธเจ้า ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ สะเก็ดหินก้อนหนึ่งกระเด็นไปกระทบพระบาททำให้พระโลหิตห้อขึ้น (ส่วนพระเทวทัต กาลต่อมาถูกธรณีสูบ)


พระสาวก นำพระพุทธองค์ไปพบหมอชีวก โกมารภัจจ์ ที่สวนมะม่วง ซึ่งสวนนี้ พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้หมอชีวก ต่อมา หมอชีวกได้ถวายเป็นวัดสำหรับพระพุทธองค์และพระสงฆ์


มี “นครโสเภณี” (หญิงผู้ยังพระนครให้งาม) หรือหญิงงามเมืองนางหนึ่ง ชื่ออัมพปาลี เมืองไพศาลี แคว้นวัชชี เลื่อมใสในพระศาสนา ได้ถวายสวนมะม่วงของเธอให้เป็นวัดที่ประทับและที่อยู่ของสงฆ์ (นางเป็นนครโสเภณีคนแรกที่สร้างวัดถวายพระพุทธองค์ บางที่ว่านางถวายสวนในช่วงไม่กี่วันก่อนพุทธปรินิพพาน บางที่ว่าถวายก่อนหน้านั้น นานมาแล้ว)


สวนมะม่วง อันเป็นวัดในพระศาสนามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “สวนอัมพวนาราม” หรือ “อัมพวัน” เนื่องจากมีหลายแห่ง จึงมักใส่ชื่อเจ้าของสวนไว้นำหน้า เช่น สวนมะม่วงของหมอชีวก เรียก “ชีวกัมพวัน” สวนที่นางอัมพปาลีถวายเรียกว่า “สวนอัมพปาลีวัน”


อีกครั้งหนึ่งคือ ครั้งเมื่อพระองค์อยู่ในเมืองสาวีตถี แคว้นโกศล ในวันเพ็ญกลางเดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน


พวกเดียรถีย์ท้าพระพุทธเจ้าแข่งปฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วง เดียรถีย์ให้สาวกไปโค่นต้นมะม่วงเสีย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงปาฏิหาริย์จนได้


โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุกมาถวาย เมื่อฉันเสร็จแล้ว ทรงมีรับสั่งให้ปลูกเมล็ดลงดิน ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ต้นมะม่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว แตกกิ่งก้านไปสูงถึง 50 ศอก และทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้


ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงสิ่งให้คนเห็นเป็นที่อัศจรรย์คู่ เช่น น้ำคู่ไฟ เป็นต้น


บางท่านว่าการแสดงยมกปาฏิหาริย์นี้ เป็นเรื่องที่นักเขียนในพระศาสนาเขียนขึ้นเพื่อให้มองพระพุทธองค์อย่างเทพเจ้า

....................................................................................................................


อ้างอิงเรื่อง และรูป


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร


เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ


เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา เกษมอนันต์พริ้นติ้ง 02-809-7452-4


ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ